ทำบุญบ้าน และขั้นตอนต่างๆที่ควรรู้
การทำบุญเลี้ยงพระให้ถูกต้อง การทำบุญเลี้ยงพระหรือเลี้ยงพระเพลในการทำบุญบ้านใหม่ เป็นสิ่งที่คนไทยนิยมทำกันเนื่องในโอกาสทำบุญบ้านขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งก็จะมีขั้นตอนการทำบุญเลี้ยงพระที่ไม่ยุ่งยาก แต่ก็ต้องทำให้ถูกต้องเพื่อความเป็นสิริมงคลนั่นเอง ดังนั้นเราจึงต้องมาทำความเข้าใจกับขั้นตอนการทำบุญเลี้ยงพระกันก่อน ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างและต้องทำอย่างไรบ้าง
การกำหนดวันทำบุญบ้านใหม่ อันดับแรกเราก็ต้องกำหนดวันที่จะทำบุญไว้ให้ชัดเจนก่อน เพื่อจะได้นิมนต์พระได้ถูก และบอกกล่าวกับญาติพี่น้อง รวมถึงแขกเหรื่อได้อย่างแน่นอน ว่าจะให้มาร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระในวันไหน โดยเราจะต้องเลือกวันทำบุญที่เป็นฤกษ์ดีและมีความเป็นมงคลด้วย ทั้งนี้เราอาจจะสอบถามจากผู้รู้หรือให้พระท่านกำหนดวันทำบุญบ้านเลี้ยงพระให้ก็ได้ยิ่งดีเลย
ทำบุญบ้าน การเลือกนิมนต์พระจากวัดที่ใกล้บ้าน
เพื่อเป็นการไม่ให้เกิดความยุ่งยากและลำบากในการเดินทางของพระสงฆ์ เราควรเลือกนิมนต์พระจากวัดที่อยู่ใกล้กับสถานที่ที่เราจะทำบุญเลี้ยงพระ โดยการนิมนต์นั้นจะต้องแจ้งให้พระท่านทราบด้วยว่าเป็นการทำบุญเนื่องในงานอะไรบ้างต้องจัดอะไรบ้าง กำหนดวันงานวันที่เท่าไหร่ จำนวนพระสงฆ์ที่ต้องการนิมนต์กี่รูป และที่สำคัญเลยก็คือการเดินทาง ซึ่งจะต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าทางเจ้าภาพจะมารับด้วยตัวเองหรือให้พระสงฆ์เดินทางไปยังสถานที่จัดงานเอง โดยหากมีรถมารับก็ควรกำหนดเวลานัดหมายให้ดีด้วยเพื่อไม่ให้มีการผิดพลาดในการรับส่งพระสงฆ์นั้นเอง
ทำบุญบ้าน การเลือกจัดอาหารถวายพระเพล
สำหรับการจัดอาหารเลี้ยงพระเพลนั้นจะมีอยู่ 2 วิธี เช่น การฉันท์วงและฉันท์ขันโตกนั่นเอง ซึ่งการเลี้ยงพระเพลแบบฉันท์วงจะเหมาะกับกรณีที่ต้องการประหยัดพื้นที่ เนื่องจากมีพื้นที่น้อยมาก โดยจะจัดกับข้าวไว้ตรงกลางแล้วให้พระสงฆ์นั่งวงฉันท์ร่วมกัน ส่วนการฉันท์ขันโตกก็จะมีการจัดสำรับอาหารเล็ก ๆให้กับพระสงฆ์ต่อ 1 รูป โดยจะมีการนำอาหารมาประเคนให้กับพระสงฆ์โดยที่ไม่ต้องลุกขึ้นไปไหน ทำให้ประหยัดเวลาได้มากทีเดียว ซึ่งอาจเลือกใช้บริการรับจัดเลี้ยงพระได้อีกด้วย
มีข้อควรจำในการจัดเลี้ยงพระ
นอกจากมีขั้นตอนการทำบุญเลี้ยงพระที่ได้กล่าวมาแล้วก็มีข้อควรจำที่ต้องทำความเข้าใจเช่นกัน
- การนิมนต์พระมาฉันท์อาหาร ห้ามเอ่ยชื่ออาหารเด็ดขาด เพราะมีข้อห้ามไม่ให้พระสงฆ์รับนิมนต์กรณีเอ่ยชื่ออาหารด้วยนั่นเอง เช่น นิมนต์ฉันท์ขนมจีน ให้เอ่ยเพียงว่านิมนต์ฉันท์เช้า หรือนิมนต์ฉันท์เพลเท่านั้น
- เจ้าภาพและผู้ที่มาร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระ ควรแต่งตัวให้สุภาพเรียบร้อย มีความเหมาะสม ไม่นุ่งสั้น ไม่ใส่สายเดี่ยว หรือแต่งตัวด้วยชุดที่เปิดให้เห็นผิวจนเกินไป
- หลังพระสงฆ์ฉันท์อาหารเสร็จจะมีการกรวดน้ำ จะต้องรินน้ำให้ไหลลงเป็นสายอย่าให้ขาดตอน โดยระหว่างกรวดน้ำก็ให้ตั้งจิตให้มั่นและอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเจ้ากรรมนายเวรด้วย นอกจากนี้ในระหว่างที่พระสงฆ์กำลังอนุโมทนาไม่ควรลุกไปไหนเด็ดขาด ยกเว้นหากมีความจำเป็นจริงๆ
- อาหารที่นำมาถวายแด่พระสงฆ์ จะต้องเป็นอาหารที่มีความเหมาะสม รับประทานได้ง่าย และควรมีทั้งอาหารคาวหวาน เครื่องดื่มอย่างครบครัน ที่สำคัญควรเน้นเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่และดีต่อสุขภาพ โดยอาหารที่นิยมนำมาเลี้ยงพระส่วนใหญ่ ได้แก่ ต้มข่าไก่ แกงเขียวหวาน ไข่ชะอม และต้มจับฉ่าย เป็นต้น
- ควรเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ให้พร้อมด้วย โดยให้วางไว้ทางด้านขวามือของพระสงฆ์ ซึ่งตามปกติแล้วเครื่องรับรองที่นิยมใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระ ได้แก่ หมากพลู น้ำร้อน น้ำเย็น กระโถน เป็นต้น